ฟิล์มกรองแสงลดความร้อน คืออะไร?

Last updated: 26 มี.ค. 2564  |  2810 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ฟิล์มกรองแสงคืออะไร

ฟิล์มกรองแสงคืออะไร?

ฟิล์มกรองแสงลดความร้อน ผลิตจากพลาสติกโพลีเอสเตอร์ที่มีคุณสมบัติเหนียว ใส เรียบ ยืดหยุ่นน้อย ไม่ดูดซับความชื้น มีความทนทานต่อสภาพอากาศทั้งสูงและต่ำได้เป็นอย่างดี ในเนื้อฟิล์มกรองแสง จะมีวัสดุที่ใช้เพื่อป้องกันความร้อนและรังสียูวี โดยใช้เทคโนโลยี ในการผลิตเป็นชิ้นๆ ผสานด้วยกาวพิเศษเพื่อการยึดเกาะได้อย่างเหนียวแน่น ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าว จึงเหมาะที่จะนำไปเป็น ฟิล์มอาคาร ฟิล์มคอนโด ฟิล์มโรงแรม ฟิล์มรีสอร์ท ฟิล์มสำนักงาน ฟิล์มที่พักอาศัยและฟิล์มติดกระจกในสถานที่ต่างๆ

โดยปกติแล้วจะมีการเรียกความเข้มของฟิล์มกรองแสงว่า เป็นฟิล์มเข้มแบบ 40% 60% 80% ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตัวเลข 40 60 80 ไม่ได้มีความหมายใดๆ ทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็นความเข้าใจผิดของผู้บริโภคตั้งแต่สมัยก่อนที่ฟิล์มกรองแสงเข้ามายังตลาดรถยนต์เมืองไทยครั้งแรก ด้วยความที่ว่ามีตัวเลือกของความเข้มฟิล์มยังมีน้อย คนจึงเรียกฟิล์มที่มีความเข้มมากที่สุดว่าฟิล์ม 80% เข้มน้อยรองลงมาก็คือฟิล์ม 60% และเข้มน้อยสุด 40% เป็นแบบนี้เรื่อยมา จนมาถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเรียกกันผิดๆ


ความจริงแล้วสิ่งที่เราเรียกว่า

ฟิล์มเข้ม 80 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 5 %
ฟิล์มเข้ม 60 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 20 %
ฟิล์มเข้ม 40 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 40-50 % 
ฟิล์มเข้ม 20 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้มากกว่า 50% ขึ้นไป โดยทั่วไปก็จะเรียกว่าฟิล์มใส

ค่าแสงส่องผ่าน (Visible Light Trasmittance) ค่า VLT สูง = สามารถส่องผ่านได้มาก = ทำให้ห้องสว่าง
การสะท้อนของแสง (Visible Light Reflectance) ค่า VLR สูง = มีปริมาณปรอทมาก = แสงสะท้อนได้มาก = สามารถลดความร้อนดี
การป้องกันความร้อน (Infrared Light Rejection) ค่า IR สูง = สามารถลดความร้อนดี

การลดรังสียูวี (UV Rejection) โดยปกติฟิล์มทุกชนิดจะสามารถป้องกัน UV ได้เท่ากันคือ 99%
หลายๆ คนยังเข้าใจผิดๆว่า ฟิล์มที่มีสีเข้มหรือทึบ ช่วยลดความร้อนได้ดี ในความจริงแล้ว สีหรือความทึบของฟิล์มกรองแสงไม่ได้เป็นตัวช่วยลดความร้อน แต่กลับเป็นสารเคลือบตัวอื่นๆ ที่ทำหน้าที่หลักนี้ต่างหาก

ส่วนประกอบของความร้อนที่เราได้รับนั้นมีสัดส่วนและแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1. ความสว่างของแสงมีสัดส่วน 44%
2. รังสีอินฟาเรด (รังสีใต้แดด) มีอยู่ 53%
3. รังสียูวี (รังสีเหนือม่วง,รังสีอุลตร้าไวโอเลต) มีอยู่ 3%


ดังนั้นฟิล์มกรองแสงที่สามารถลดความร้อนได้ดีควรจะลดรังสีทั้ง 3 ส่วนได้มากๆ


ตัวอย่างเช่น หากท่านติดฟิล์มกรองแสงที่มีความทึบแสงมากๆ แต่ฟิล์มกรองแสงนั้นๆ เป็นประเภทฟิล์มย้อมสีหรือเป็นฟิล์มกรองแสงที่ไม่ได้มีส่วนผสมของโลหะหรือ สารพิเศษใดๆ ท่านจะรู้สึกถึงความร้อนที่ผ่านชั้นผิวของฟิล์มกรองแสงเข้ามา นั่นก็คือฟิล์มกรองแสงนั้นๆสามารถลดได้แค่ความสว่างของแสงที่มีสัดส่วนอยู่ 44% แต่รังสีอินฟาเรดยังสามารถผ่านทะลุเข้ามาได้จนรู้สึกถึงความร้อน ในทางกลับกันหากท่านติดฟิล์มกรองแสงที่มีส่วนผสมพิเศษไม่ว่าจะเป็นส่วนผสม ของโลหะหรืออื่นๆ แต่ฟิล์มกรองแสงนั้นๆ มีค่าความทึบแสงน้อย(แสงส่องผ่านเข้าไปได้เยอะ) ท่านก็จะรู้สึกถึงความร้อนจากความสว่างของแสงที่ส่องผ่านฟิล์มกรองแสงเข้ามา ส่วนรังสียูวีนั้นเป็นส่วนประกอบน้อยมากของความร้อน (3%) ซึ่งฟิล์มกรองแสงเกือบทั้งหมดสามารถลดรังสียูวีได้มากกว่า 99% อยู่แล้ว


ส่วนประกอบของความร้อน
ฟิลม์กรองเเสงเป็นวัสดุที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมพลังงานความร้อนจากเเสงอาทิตย์ ผลิตจากพลาสติกชนิดหนึ่งซึ่งทำจากเเผ่นโพลีเอสเตอร์ต่างๆ (PVDG, Tedlar Foils Metallized Film, Acetate, PET,Polyolefins and Polycarbonates) โดยใช้เทคโนโลยีในการเคลือบชั้นฟิล์ม ต่างๆกันเช่น สี,โลหะ, กาว, สารกันรอยขีดข่วน, สารดูดซับรังสี uv ซึ่งเเผ่นโพลีเอสเตอร์เป็นวัสดุที่เหมาะต่อการผลิตฟิล์มเนื่องจากมีความเหนียว ทนทาน ยืดหยุ่นน้อย ดูดซับความชื้นน้อย เเละสามารถทนอุณหภูมิได้ทั้งสูงต่ำ ซึ่งเหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็น ฟิล์มอาคาร ฟิล์มคอนโด ฟิล์มที่พักอาศัย และฟิล์มกระจกในที่ต่าง ๆ

ส่วนประกอบของความร้อนที่เราได้รับนั้นมีสัดส่วนและแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
- ความสว่างของแสงมีสัดส่วน 44%
- รังสีอินฟาเรด (รังสีใต้แดด) มีอยู่ 53%
- รังสียูวี (รังสีเหนือม่วง,รังสีอุลตร้าไวโอเลต) มีอยู่ 3%

สาเหตุที่ติดฟิล์มกรองแสงกันร้อน แล้วยังร้อน! เหตุผลเป็นเพราะฟิล์มกรองแสงทั่วไป กันความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้เพียงรังสี UV และแสงสว่าง (VL) เท่านั้น ซึ่งเป็นเพียง 44% ของความร้อนทั้งหมด ที่เหลือคือความร้อนจากรังสีอินฟราเรด(IR) ที่มีมากถึง 53% ดังนั้น เวลาเลือกฟิล์มกรองแสงที่กันร้อนได้จริง ต้องดูที่ค่ารังสีอินฟราเรด (IR) เป็นหลัก

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้